ผู้ใช้งานออนไลน์: 9
top

กฎจราจรสำหรับผู้ขับขี่

การจัดตำแหน่ง การเลี้ยว การถอยหลัง และการเปลี่ยนช่องจราจร


 

ตำแหน่งบนถนน

ในการพิจารณาสภาพการจราจรและเงื่อนไขอื่นๆ โดยทั่วไป ผู้ขับขี่จะต้องรักษาระยะห่างให้ชิดขวาที่สุด

ในกรณีที่ถนนมีช่องจราจรสามช่องทาง ยานพาหนะไม่ควรใช้ช่องจราจรที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดในทิศทางของการจราจร เว้นแต่การจราจรบนถนนเป็นแบบการเดินรถทางเดียว

 โดยปรับระยะห่างจากรถคันข้างหน้าให้อยู่ในลักษณะที่ไม่มีอันตรายต่อการชน ในกรณีที่รถด้านหน้าหยุดหรือลดความเร็ว นอกเขตพื้นที่ตึกอาคารหนาแน่นสูง ยานพาหนะที่มีการจำกัดความเร็วเป็นพิเศษจะต้องรักษาระยะห่างจากรถคันหน้าสำหรับรถที่ทำการแซงจะสามารถขับแทรกเข้ามาระหว่างรถทั้งสองคันได้โดยไม่เกิดอันตราย โปรดดูมาตรา 43

ผู้ขับขี่จะต้องขับอยู่ทางด้านขวาของเกาะการจราจร โคมไฟสนามริมถนน และสิ่งที่คล้ายคลึงกันซึ่งติดตั้งหรือวางไว้บนถนน อย่างไรก็ตามผู้ขับขี่สามารถขับไปทางซ้ายได้หากมีการระบุด้วยเครื่องหมายหรือรูปแบบที่ตั้งอยู่บนถนนที่มีเดินรถทางเดียว

ยานพาหนะที่ใช้สำหรับงานซ่อมถนนสามารถขับขี่เพื่อการทำงานด้วยความระมัดระวังตามความจำเป็น


มาตรา

มาตรา 42 จำกัดความเร็วทั่วไป

มาตรา 42 บนถนนสายอื่นๆ นอกเหนือจากทางหลวงพิเศษและทางหลัก ความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะไม่ควรเกินการจำกัดดังต่อไปนี้:

  1. ในเขตพื้นที่ตึกอาคารหนาแน่น: 50 กม.ต่อชั่วโมง
  2. นอกเขตพื้นที่ตึกอาคารหนาแน่น: 80 กม.ต่อชั่วโมง

ข้อ 2 บนทางหลวงพิเศษจำกัดความเร็วไม่เกิน 130 กม.ต่อชั่วโมง

ข้อ 3 สำหรับทางหลักจำกัดความเร็วไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง

ข้อ 4 สำหรับพื้นที่ถนนสามารถกำหนดความเร็วจำกัดสูงกว่าความเร็วจำกัดทั่วไปตามการลื่นไหลของจราจรโดยพิจารณาถึงความปลอดภัยของการจรากรเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามบนทางหลักและทางหลวงพิเศษ อย่างไรก็ตามสามารถขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกิน 100 กม.ต่อชั่วโมงและ 130 กม.ต่อชั่วโมงตามลำดับ

ข้อ 5 สำหรับถนนที่ตรงไปข้างหน้าที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สมควรที่จะขับขี่ด้วยความเร็วตามความเร็วจำกัดทั่วไปสามารถกำหนดความเร็วจำกัดที่ต่ำลงได้ ในพื้นที่ตึกอาคารหนาแน่นการ มีการจำกัดความเร็วลดลงสำหรับพื้นที่จำกัดมากขึ้นในลักษณะที่คล้ายกัน

มาตรา 43 ความเร็วสำหรับยานพาหนะประเภทพิเศษ

มาตรา 43 สำหรับรถโดยสารประจำทางน้ำหนักรวมที่เกินกว่า 3,500 กิโลกรัม ความเร็วในการขับขี่จะต้องไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง โดยไม่คำนึงถึงมาตรา 42 สำหรับรถโดยสารประจำทางที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 10 ความเร็วในการขับขี่บนทางหลวงพิเศษจะต้องไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ข้อ 2 สำหรับรถประเภทอื่นๆ น้ำหนักรวมที่อนุญาตเกินกว่า 3,500 กิโลกรัม (รถบรรทุก) และสำหรับรถพ่วงที่ประกอบไปด้วยรถบรรทุกหรือรถโดยสารประจำทาง น้ำหนักรวมที่อนุญาตที่เกินกว่า 3,500 กิโลกรัม และรถพ่วงที่บังคับให้มีการลงทะเบียน ความเร็วบนถนนสายอื่นไม่สามารถขับขี่เกินกว่า 70 กม.ต่อชั่วโมงโดยไม่คำนึงถึงมาตรา 42

ข้อ 3 สำหรับรถยนต์ที่มีน้ำหนักรวมที่อนุญาตมากกว่า 3,500 กิโลกรัม ความเร็วบนถนนสายอื่นๆ นอกเหนือจากทางหลวงพิเศษโดยไม่คำนึงถึงมาตรา 42 ไม่สามารถขับขี่เกินกว่า 70 กม.ต่อชั่วโมง ในกรณีที่เป็นรถพ่วง รถกึ่งพ่วง หรืออุปกรณ์ลากพ่วงที่กำหนดให้มีการจดทะเบียน รวมถึงคาราวานที่พ่วงมาด้วยกัน โดยใช้กฎเดียวกันกับรถจักรยานยนต์ในกรณีที่มีการพ่วงหรือมีอุปกรณ์พ่วงที่กำหนดให้มีการลงทะเบียน สำหรับรถยนต์ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 11 ความเร็วในการขับขี่บนถนนสายอื่นนอกเหนือจากการขับขี่บนทางหลวงพิเศษจะต้องไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมง

ข้อ 4 สำหรับยานพาหนะที่กล่าวถึงไว้ในข้อ 2 และ 3 ความเร็วในการขับขี่บนทางหลวงพิเศษจะต้องไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมงโดยไม่คำนึงถึงมาตรา 42 สำหรับรถยนต์ที่รวมอยู่ในข้อ 3 ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 11 ความเร็วในการขับขี่บนทางหลวงพิเศษจะต้องไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ข้อ 5 สำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์พ่วงลากแบบไม่ได้กำหนดให้มีการลงทะเบียน และสำหรับรถแทรคเตอร์และรถเครื่องจักรสามารถขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกิน 30 กม.ต่อชั่วโมงโดยไม่คำนึงถึงมาตรา 42 สำหรับรถแทรคเตอร์และรถเครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนแล้ว รวมถึงยานพาหนะที่พ่วงต่อประกอบไปด้วยรถแทรคเตอร์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนแล้ว หรือรถเครื่องจักรได้รับอนุญาตและจดทะเบียนแล้วที่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์พ่วงลากได้รับอนุญาตและจดทะเบียนแล้ว ซึ่งปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 12 เกี่ยวกับความเร็วในการขับขี่จะต้องไม่เกิน 40 กม.ต่อชั่วโมง

ข้อ 6 สำหรับรถยนต์หรือยานพาหนะที่มีการพ่วงแบบมีล้อมากกว่าหนึ่งคู่ขึ้นไปที่มีล้อหุ้มแข็ง ความเร็วในการขับขี่จะต้องไม่เกิน 15 กม.ต่อชั่วโมงโดยไม่คำนึงถึงมาตรา 42

ข้อ 7 จากการจดทะเบียนและการอนุญาตของรถยนต์สามารถกำหนดความเร็วจำกัดแบบต่ำพิเศษในกรณีที่โครงสร้างของยานพาหนะทำให้จำเป็นต้องปฏิบัติเช่นนี้

ข้อ 8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสามารถกำหนดความเร็วจำกัดที่สูงกว่าได้ดังที่กล่าวไว้ในข้อ 1-5 สำหรับยานพาหนะประเภทพิเศษในกรณีด้านความปลอดภัยสำหรับการจราจรหรือเหตุผลทางเทคนิคของยานพาหนะเมื่อมีสภาพเงื่อนไขที่สมควร

ข้อ 9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศเดนมาร์กสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการทดสอบความเร็วสูงกว่าบนทางหลวงพิเศษสำหรับยานพาหนะที่ระบุไว้ในข้อ 2 และ 3 โดยไม่คำนึงถึงกฎข้อบังคับภายใต้ข้อ 4

ข้อ 10 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศเดนมาร์กสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ของเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามสำหรับรถโดยสารประจำทางในการขับขี่ได้สูงสุด 100 กม.ต่อชั่วโมง โปรดดูข้อ 1 หัวข้อ 2

ข้อ 11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศเดนมาร์กสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ของเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามสำหรับรถยนต์ที่มีน้ำหนักรวมไม่เกิน 3,500 กิโลกรัมต่อพ่วงเข้ากับรถพ่วง รถกึ่งพ่วง หรืออุปกรณ์ลากพ่วงที่ได้รับการจดทะเบียน รวมถึงคาราวาน โดยสามารถขับขี่ได้ไม่เกิน 100 กม.ต่อชั่วโมงบนทางหลวงพิเศษ และไม่เกิน 80 กม.ต่อชั่วโมงบนถนนสายอื่นนอกเหนือจากทางหลวงพิเศษ โปรดดูข้อ 4 หัวข้อ 2 และข้อ 3 หัวข้อ 3

ข้อ 12 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศเดนมาร์กสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ของเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามสำหรับรถแทรคเตอร์และเครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตหรือจดทะเบียน รวมถึงยานพาหนะที่พ่วงรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยรถแทรคเตอร์ที่ได้รับอนุญาตหรือจดทะเบียน หรือเครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตหรือจดทะเบียนที่พ่วงไว้เป็นอุปกรณ์พ่วงต่อที่ได้รับอนุญาตหรือจดทะเบียนสามารถขับขี่ได้ไม่เกิน 40 กม.ต่อชั่วโมง โปรดดูข้อ 5 หัวข้อ 2

มาตรา 43 ก สำหรับรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่สามารถขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกิน 45 กม.ต่อชั่วโมงโดยไม่คำนึงถึงมาตรา 42 สำหรับรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กสามารถขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกิน 30 กม.ต่อชั่วโมงโดยไม่คำนึงถึงมาตรา 42

มาตรา 43 ข ความเร็วสำหรับยานพาหนะรางรถไฟรางเบาสามารถขับขี่ได้ไม่เกินความเร็วจำกัดสำหรับรถโดยสารประจำทาง โปรดดูมาตรา 42 และมาตรา 42 ขอ 1 และ 10

ข้อ 2 สำหรับถนนที่ตรงไปข้างหน้าที่มีการขับขี่ยานพาหนะรถไฟรางเบาและรถยนต์ และในบริเวณที่มียานพาหนะรถไฟรางเบามีการขับขี่แยกออกไปอย่างชัดเจนจากการจราจรอื่นๆ สามารถกำหนดความเร็วจำกัดที่สูงกว่าความเร็วจำกัดทั่วไปสำหรับยานพาหนะรถไฟรางเบาได้โดยพิจารณาถึงการจรากรเป็นสำคัญ

การเลี้ยว ฯลฯ

ในกรณีเหล่านั้นที่ถนนมีสองช่องจราจรขึ้นไปที่สงวนไว้สำหรับการจราจรในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่จะต้องจัดตำแหน่งให้รถของตนเองอยู่ในช่องจราจรชิดไปทางขวาในเวลาที่เหมาะสมหากผู้ขับขี่กำลังจะเลี้ยวขวาและในช่องจราจรซ้ายสุดหากผู้ขับขี่กำลังจะเลี้ยวซ้าย ผู้ขับขี่ที่จะขับตรงไปสามารถจัดตำแหน่งรถของตนเองในช่องจราจรที่เหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงการจราจรคันอื่นและการขับขี่ที่มีความต่อเนื่อง

ข้อ 2 ผู้ขับขี่ที่ต้องการเปลี่ยนทิศทางการขับขี่ในทางแยก โดยก่อนที่จะเตรียมตัวและทำการเปลี่ยนทิศทางจะต้องแน่ใจว่าไม่มีอันตรายหรือรบกวนโดยไม่จำเป็นต่อผู้อื่นที่ขับขี่อยู่ในทิศทางเดียวกัน

ข้อ 3 เมื่อเลี้ยวขวาจะต้องขับขี่ยานพาหนะไปทางขอบขวาสุดของถนน จะต้องทำการเลี้ยวให้แคบที่สุด เมื่อเลี้ยวซ้ายจะต้องขับขี่ยานพาหนะไปตรงกลางของถนนให้ได้มากที่สุด หรือชิดทางขอบซ้ายของถนนในกรณีที่ถนนมีการจราจรแบบเดินรถทางเดียว การเลี้ยวจะต้องทำในลักษณะที่เมื่อรถออกจากทางแยก รถจะอยู่ทางด้านขวาของถนนที่กำลังจะเลี้ยวไป

ข้อ 4 ในกรณีที่ถนนเข้าสู่ช่องจราจรที่มียานพาหนะกำลังเลี้ยวที่มีช่องจราจรตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ซึ่งสงวนไว้ให้สำหรับการจราจรในทิศทางเดียวกันโดยไม่คำนึงถึงกฎข้อบังคับในข้อ 3 ดังนั้นจะต้องทำการเลี้ยวในลักษณะที่เหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงการจราจรคันอื่นและการขับขี่ที่มีความต่อเนื่อง

ข้อ 5 การจราจรที่สวนทางซึ่งมาจากด้านข้างนำไปสู่ทางแยกที่ทั้งสองทางจะเลี้ยวไปทางซ้ายสามารถผ่านกันทางด้านซ้าย ในกรณีนี้สามารถเลี้ยวได้โดยไม่มีอันตรายหรือเป็นการรบกวน

ข้อ 1-3 ยังนำไปใช้กับการขับขี่ข้ามหรือออกจากถนนด้านนอกทางแยก

เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการทดสอบภาคทฤษฎี

การทดสอบภาคทฤษฎีออนไลน์

คุณจะสามารถเข้าถึงตัวเลือกของคำถามแบบเลือกตอบมากกว่า 1,000 รายการ การทดสอบภาคทฤษฎีของเราได้รับการทดสอบกับนักเรียนมากกว่า 140 คนก่อนที่เราจะนำมาใช้ ทุกคนผ่านในครั้งแรก

การเลี้ยว การถอยหลัง และการเปลี่ยนช่องจราจร ฯลฯ

ก่อนเลี้ยวหรือถอยหลัง ผู้ขับขี่ต้องแน่ใจว่าเคลื่อนที่ได้โดยไม่เป็นอันตรายหรือรบกวนต่อผู้อื่น การเลี้ยวจะต้องขับขี่ในลักษณะเคลื่อนที่ไปทางซ้ายยกเว้นสภาพการจราจรไม่อำนวย

ข้อ 2 ก่อนที่จะขับออกจากขอบถนนด้วยการเปลี่ยนช่องจราจรหรือการเปลี่ยนยานพาหนะไปยังตำแหน่งอื่นๆ ผู้ขับขี่จะต้องแน่ใจว่าสามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่เป็นอันตรายหรือรบกวนต่อผู้อื่น โดยใช้กฎเดียวกันเมื่อผู้ขับขี่ต้องการหยุดรถหรือลดความเร็วลงอย่างรวดเร็ว

ข้อ 3 ในช่องจราจรสำหรับเร่งความเร็ว ผู้ขับขี่จะต้องปรับความเร็วให้เข้ากับการจราจรในช่องจราจร ซึ่งจะต้องใช้ในระหว่างการขับขี่ที่ต้องใช้ความต่อเนื่อง และออกจากช่องจราจรสำหรับเร่งความเร็วเมื่อทำได้โดยไม่เป็นอันตรายหรือรบกวนผู้อื่น ผู้ขับขี่ในช่องจราจรสำหรับเร่งความเร็วที่มีการจราจรขับขี่อยู่จะต้องขับออกจากช่องจราจรสำหรับเร่งความเร็วโดยลดความเร็วลงหากจำเป็น

ข้อ 4 ในกรณีที่ช่องจราจรที่สงวนไว้สำหรับการจราจรในทิศทางเดียวกันลดจำนวนลง ผู้ขับขี่จะต้องปรับการขับขี่ตามข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงโดยคำนึงถึงการใช้ถนนร่วมกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนความเร็วที่จำเป็น ซึ่งใช้กฎเดียวกันกับการรวมช่องจราจรสองช่องจราจร

ข้อ 5 ต้องใช้ช่องจราจรสำหรับชะลอความเร็วทันทีที่จุดเริ่มต้นของช่องจราจร ซึ่งใช้กฎเดียวกันกับช่องจราจรที่สงวนไว้สำหรับการจราจรบางประเภท รวมถึงช่องจราจรที่ใช้สำหรับการเลี้ยว


ทางร่วม

เมื่อมีทางร่วม ผู้ขับขี่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษถึง:

  • ยานพาหนะที่มาจากด้านหลัง
  • เส้นแบ่งช่องจราจร
  • ลักษณะของถนน

การเปลี่ยนช่องจราจร

เมื่อเปลี่ยนช่องจราจร ผู้ขับขี่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับ:

  • ยานพาหนะที่มาจากด้านหลัง
  • เส้นแบ่งช่องจราจร
  • ลักษณะของถนน